• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เสริมแกร่งสุขภาวะคนไร้บ้าน 6 จว. เจอพิษโควิด

Started by Joe524, October 29, 2021, 10:21:33 PM

Previous topic - Next topic

Joe524



แม้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง กระทบปัญหาปากท้องและความยากจนของผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะกลุ่มคนไร้บ้านที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้น นอกจากการเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ถือเป็นแนวทางบรรเทาความเดือดร้อน ทำให้พวกเขาได้ท้องอิ่ม ยิ้มได้ มีพลังใจต่อสู้ทุกวิกฤต

สสส.และภาคีมอบถุงยังชีพ"มิตรปันสุข"ที่ศูนย์พักคนไร้บ้านพูนสุข จ.ปทุมธานี

 

เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กลุ่มเปราะบาง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย และภาคีเครือข่าย จัดทำครัวกลาง - อาหารราคาถูก ช่วยประสานงานให้คนไร้บ้านได้เข้าถึงวัคซีน สร้างอาชีพเสริมรายได้ พัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมให้คนไร้บ้านสามารถตั้งหลักชีวิตและกลับคืนสู่ชุมชน พร้อมทั้งแจกจ่ายถุงยังชีพ "มิตรปันสุข" 7,300 ชุด จัดส่งไปที่ศูนย์พักคนไร้บ้านใน 6 จังหวัด โดยนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. พร้อมด้วย นางสาวกรรณิกา ว่องกุศลกิจ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาชุมชนเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล และนายสมพร หารพรม เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพ "มิตรปันสุข" ที่ศูนย์พักคนไร้บ้าน "บ้านพูนสุข" อ.เมือง จ.ปทุมธานี เมื่อวันก่อน ซึ่งศูนย์แห่งนี้นอกจากเป็นที่พักรองรับคนไร้บ้านแล้ว ยังฝึกอาชีพ สอนทำเกษตรพอเพียง เพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้ด้วย

นางภรณี ภู่ประเสริฐ กล่าวว่า สถานการณ์โควิดส่งผลกระทบให้คนไร้บ้านเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 จากเดิมที่พบคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ กว่า 1,027 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 1,300-1,400 คน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา จนทำให้คนกลุ่มนี้มีสถานะตกงาน ขาดรายได้ และเข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการต่างๆ โดยผลสำรวจโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไร้บ้านพบว่า ประเทศไทยมีคนไร้บ้านกระจายในพื้นที่สาธารณะทั่วประเทศกว่า 2,719 คน ในทุกจังหวัด และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 3,500-4,000 คน โดยการอยู่อาศัยในพื้นที่สาธารณะ และความยากจน ส่งผลให้คนไร้บ้านมีปัญหาทางสุขภาพมากกว่าคนทั่วไป เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ เป็นต้น ต้องได้รับการดูแลและติดตามชีวิตความเป็นอยู่เป็นระยะเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ สร้างสุขภาวะที่ดีเทียบเท่าคนทุกกลุ่ม

ถุงยังชีพ'มิตรปันสุข'ช่วยลดรายจ่ายคนไร้บ้าน

 

"เหตุที่ช่วยคนไร้บ้านใน 6 จังหวัด รวมถึงเครือข่ายแรงงานนอกระบบ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ กลุ่มเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีก 17 จังหวัด เพราะคนกลุ่มนี้ประสบความยากลำบากหลายด้าน ขาดความมั่นคงทางรายได้และอาหาร เข้าไม่ถึงสิทธิสวัสดิการ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิดได้รับผลกระทบรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่น สสส. หวังว่าการเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มเปราะบางและการประสานทรัพยากรจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาสนับสนุนต่อเนื่องจะทำให้คนที่ประสบความยากลำบาก มีกำลังใจในการลุกขึ้นสู้และกลับมาดำเนินชีวิตสู่วิถีปกติได้อย่างรวดเร็ว " นางภรณี กล่าว

ในหลายพื้นที่คนไร้บ้านมีปัญหาจากการใช้ชีวิต การทำงานร่วมกันของ สสส.และภาคีเครือข่ายส่งต่อถุงยังชีพสามารถลดรายจ่ายค่าครองชีพได้ ซึ่งโครงการมิตรปันสุข โดยกลุ่มมิตรผล และกองทุนมิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทย สู้ภัย COVID-19  มีเป้าหมายช่วยให้คนไทยได้ท้องอิ่ม ยิ้มได้ ใจสู้ต่อในยามนี้ โดยเครื่องอุปโภค บริโภคในถุงยังชีพมิตรปันสุข ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าที่ผลิตในชุมชน เช่น ข้าวหอมมะลิ กล้วยฉาบ น้ำพริกต่างๆ รวมถึงจ้างชุมชนตัดเย็บถุงที่ทำจากกระสอบน้ำตาลมิตรผลรีไซเคิล เพื่อให้ชุมชนมีรายได้ เกิดเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่นต่อไป

พื้นที่เรียนรู้เกษตรสร้างอาชีพที่ศูนย์พักคนไร้บ้าน"บ้านพูนสุข"

 

สำหรับการลงพื้นที่ศูนย์คนไร้บ้าน บ้านพูนสุข ซึ่งดูแลคนไร้บ้านทั้งในสถานการณ์ปกติและโควิด ตั้งอยู่ในชุมชนบนเนื้อที่ 2 ไร่ รองรับสมาชิกคนไร้บ้านทั้งชายและหญิงอาศัยได้ 100 คน แบ่งเกณฑ์การเข้าพัก 3 ระดับ คือ ชั่วคราว ประจำ และแบบมั่นคง  อยู่ที่นี่ไม่ถือเป็นภาระของสังคม ได้พัฒนาศักยภาพและสุขภาวะใจกายครบถ้วน

นายสมพร หารพรม กล่าวว่า ทางศูนย์จะแบ่งพื้นที่ให้เรียนรู้วิธีปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ สร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงสร้างอาชีพให้คนไร้บ้านหารายได้เลี้ยงปากท้องตัวเอง เช่น ฝึกทำอาหาร ขายของมือ 2 ที่ได้รับจากการบริจาค ผักที่ปลูกจากการเรียนนำมาขาย เป็นต้น เมื่อมีรายได้แล้ว ฝึกให้เขารู้จักวิธีใช้เงิน ด้วยการนำมาซื้ออาหารราคาถูกในศูนย์แทนการรับอาหารฟรี ฝึกความรับผิดชอบและต่อยอดให้มีอาชีพทำ เพื่อตั้งหลักชีวิตให้สามารถดูแลตัวเองในระยะยาว ส่วนคนไร้บ้านที่อยู่แบบมั่นคงจะได้ฝึกเป็นอาสาสมัคร ดูแลที่พัก และร่วมทีมงานสำรวจประชากรคนไร้บ้านในพื้นที่ด้วย