• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร บ. ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง

Started by deam205, October 30, 2022, 10:14:17 AM

Previous topic - Next topic

deam205


 ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ ?BBB-? ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงความมั่นคงของกระแสเงินสดของบริษัทจากการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับหน่วยงานการไฟฟ้าภาครัฐ ในทางตรงกันข้าม อันดับเครดิตถูกลดทอนลงจากความเสี่ยงในด้านความไม่แน่นอนของปริมาณและความผันผวนของราคาวัตถุดิบเชื้อเพลิง รวมถึงการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นในธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและสถานะทางการเงินของบริษัทที่ถดถอยลง

อันดับเครดิตองค์กรของบริษัทยังพิจารณาถึงสถานะของบริษัทในฐานะที่เป็นบริษัทย่อยหลักของ ของ บริษัท ไทยโพลีคอนส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ ?BBB-/Stable? ด้วย ส่งผลให้อันดับเครดิตองค์กรของบริษัทนั้นเท่ากับอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทไทยโพลีคอนส์ ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งประเมินอันดับเครดิตเฉพาะของบริษัท (Stand-alone Credit Profile) ไว้ที่ระดับ ?bbb? ซึ่งสะท้อนสถานะทางเครดิตของบริษัทที่แข็งแรงกว่าของบริษัทไทยโพลีคอนส์

ประเด็นสำคัญที่กำหนดอันดับเครดิต

เป็นบริษัทย่อยหลักของบริษัทไทยโพลีคอนส์

ทริสเรทติ้งเชื่อว่าบริษัทจะยังคงเป็นบริษัทย่อยหลักของบริษัทไทยโพลีคอนส์ ต่อไป โดยบริษัทไทยโพลีคอนส์ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 43.3% ในบริษัทและมีอำนาจควบคุมนโยบายทางธุรกิจและการเงินของบริษัทโดยตรง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างบริษัททั้งสอง นอกจากนี้ ผลกำไรเกือบทั้งหมดของบริษัทไทยโพลีคอนส์ก็ยังมาจากธุรกิจผลิตไฟฟ้าของบริษัทอีกด้วย โดยกระแสเงินสดที่มั่นคงของบริษัทนั้นช่วยลดความผันผวนและความอ่อนไหวของธุรกิจก่อสร้างของบริษัทไทยโพลีคอนส์ได้เป็นอย่างมาก

ความมั่นคงของกระแสเงินสด

อันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทสะท้อนถึงความมั่นคงของกระแสเงินสดจากโรงไฟฟ้าของบริษัทอันเนื่องมาจากการมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว ปัจจุบันบริษัทมีโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าขยะที่ดำเนินการแล้วจำนวน 11 แห่ง โดยมีกำลังการผลิตรวมตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอยู่ที่ 106.5 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าทุกแห่งมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับผู้ผลิตและผู้จ่ายกระแสไฟฟ้าที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ซึ่งต่างก็ได้รับการจัดอันดับเครดิตที่ระดับ ?AAA? จากทริสเรทติ้ง ดังนั้น ความเสี่ยงของบริษัทในด้านคู่สัญญาจึงอยู่ในระดับต่ำ

ความเสี่ยงจากปริมาณและความผันผวนของราคาวัตถุดิบเชื้อเพลิง

อันดับเครดิตถูกลดทอนลงจากความเสี่ยงในด้านวัตถุดิบเชื้อเพลิงซึ่งได้มาจากเศษวัสดุทางการเกษตรที่เหลือทิ้ง โดยโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทใช้ไม้สับ แกลบ กะลามะพร้าว และพืชเติบโตเร็วอื่น ๆ ในการผลิตไฟฟ้า ความเพียงพอของปริมาณวัตถุดิบเชื้อเพลิงนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ ฤดูกาล การใช้ชีวมวลในอุตสาหกรรมอื่น และจำนวนโรงไฟฟ้าชีวมวล ทั้งนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าชีวมวลที่ไม่มีวัสดุเหลือทิ้งจากไร่นาเป็นของตนเองจำเป็นจะต้องแย่งชิงวัตถุดิบเชื้อเพลิงกับผู้ประกอบการรายอื่น

ดังนั้นเพื่อให้มีวัตถุดิบเชื้อเพลิงที่เพียงพอ บริษัทได้ทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบระยะยาวกับผู้จำหน่ายท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญายังถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สำคัญ ผลการดำเนินงานของบริษัทยังขึ้นกับความผันผวนของราคาวัตถุดิบเชื้อเพลิงอีกด้วย โดยราคาของวัตถุดิบเชื้อเพลิงชีวมวลนั้นสามารถแกว่งตัวขึ้นและลงได้อย่างมากอีกทั้งยังแปรเปลี่ยนไปตามความชื้นและค่าความร้อนอีกด้วย

ในส่วนของพลังงานจากขยะ ชนิดของขยะที่ต่างกันให้ค่าความร้อนที่แตกต่างกันในขณะที่สิ่งเจือปนก็อาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพในการดำเนินงานได้ โดยผู้ผลิตไฟฟ้าจากขยะจำเป็นต้องบริหารจัดการวัตถุดิบเชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าขยะแห่งแรกของบริษัทยังจำเป็นต้องรอการพิสูจน์ต่อไปเนื่องจากเพิ่งเริ่มดำเนินการในช่วงปลายปี 2564

การแข่งขันในธุรกิจผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น

ทริสเรทติ้งมองเห็นถึงโอกาสการเติบโตสำหรับพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยจากการที่ภาครัฐมุ่งเน้นเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนภายใต้เป้าหมายระยะยาวในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Greenhouse Gas Emission) โดยทริสเรทติ้งคาดหวังถึงการเปิดโควต้ารับซื้อพลังงานหมุนเวียนรอบใหม่ อย่างไรก็ตาม ทริสเรทติ้งมองว่าการแข่งขันในธุรกิจผลิตไฟฟ้าภายในประเทศนั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ในขณะที่กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่อยู่ในระดับสูงก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ได้

โรงไฟฟ้าชีวมวลใหม่ ๆ ของบริษัท (TPCH 1 TPCH 2 และ TPCH 5) นั้นมีราคาจำหน่ายไฟฟ้าที่ลดต่ำลงจากการประมูลแข่งขันที่รุนแรง บริษัทจึงจำเป็นจะต้องเพิ่มความรัดกุมในการควบคุมต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ในขณะที่การลงทุนใหม่ ๆ ทั้งในโครงการที่เริ่มใหม่ (Greenfield Projects) หรือโครงการที่มีอยู่แล้ว (Brownfield Projects) ก็อาจให้ผลตอบแทนลดต่ำลงอันเนื่องมาจากราคาจำหน่ายไฟฟ้าที่ต่ำหรือต้นทุนในการซื้อโครงการที่สูง ซึ่งน่าจะส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทลดลงในระยะยาว ทั้งนี้ ในอนาคต ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะมุ่งเน้นการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเมื่อพิจารณาจากราคาจำหน่ายไฟฟ้าที่น่าสนใจกว่าโรงไฟฟ้าชีวมวล นอกจากนี้ บริษัทอาจขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศเพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโต อย่างไรก็ตาม โครงการภายในประเทศน่าจะยังคงเป็นสินทรัพย์และผลการดำเนินงานหลักของบริษัทต่อไป

ผลการดำเนินงานโรงไฟฟ้าอ่อนแอกว่าที่คาด

บริษัทรายงานผลการดำเนินงานอ่อนแอลงในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เนื่องจากโรงไฟฟ้าบางแห่งของบริษัทผลิตไฟฟ้าได้ต่ำกว่าที่คาดหมายไว้ โดยโรงไฟฟ้าใหม่ ๆ ของบริษัทมีผลการดำเนินงานไม่ดีนักและต้องใช้เวลาในการปรับปรุงที่ยาวนานขึ้น ในขณะที่โรงไฟฟ้าเดิม 2 แห่งของบริษัทก็ประสบปัญหาเครื่องจักรชำรุด ส่งผลให้โรงไฟฟ้าของบริษัทผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ 315 กิกะวัตต์-ชั่วโมงในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 หรือคิดเป็นอัตราความสามารถในการผลิตไฟฟ้าที่ประมาณ 70% ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากในอดีตที่ประมาณ 90% ทำให้กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทลดลง 15.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมาอยู่ที่ 364 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ขณะที่ อัตรากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA Margin) ของบริษัทก็ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 27.8% จากระดับที่สูงกว่า 30% ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

การคงอันดับเครดิตที่ระดับเดิมสะท้อนความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขปัญหาด้านเทคนิคและฟื้นฟูประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าในภาพรวมให้กลับไปสู่ระดับเดิมได้ โดยประมาณการกรณีฐานของทริสเรทติ้งคาดว่ารายได้จากการดำเนินงานรวมของบริษัทจะเพิ่มขึ้นจากระดับ 2.8 พันล้านบาทในปี 2565 เป็นระดับ 3.4-3.5 พันล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2566-2567 ซึ่งจะส่งผลทำให้ EBITDA เพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.2 พันล้านบาทต่อปีได้ในช่วงปี 2566-2567 ทั้งนี้ EBITDA Margin ของบริษัทน่าจะฟื้นตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 29% ในปี 2565 เป็นระดับ 33%-34% ในช่วงปี 2566-2567

ระดับการก่อหนี้จะลดลง

บริษัทให้การค้ำประกันหนี้ของกิจการร่วมค้าตามสัดส่วนการถือหุ้นในกิจการร่วมค้านั้น ๆ ดังนั้น ในการพิจารณาสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ทริสเรทติ้งจึงรวมเอาสินทรัพย์ หนี้สิน และผลการดำเนินงานของกิจการร่วมค้าเข้ามารวมกับงบการเงินรวมของบริษัทตามสัดส่วนที่บริษัทถือหุ้นในกิจการร่วมค้าแต่ละแห่งด้วย

ระดับการก่อหนี้ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากความล่าช้าอย่างมีนัยสำคัญของงานก่อสร้างโครงการใหม่ ๆ รวมถึงผลการดำเนินงานที่อ่อนแอของโรงไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของ EBITDA น่าจะช่วยลดระดับการก่อหนี้ลง โดยทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อ EBITDA ของบริษัทจะลดลงเป็นประมาณ 4 เท่าในช่วงปี 2566-2567 จากระดับสูงสุดที่ 6.9 เท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ในขณะที่อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อเงินทุนน่าจะอยู่ในช่วง 50%-60% และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินทางการเงินจะอยู่ในช่วง 10%-20% ในช่วงปี 2565-2567 ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะใช้งบลงทุนปีละ 0.3-0.8 พันล้านบาทตลอดระยะเวลาประมาณการ และ บริษัท สยาม พาวเวอร์ จำกัด ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 50% จะมีโครงการโรงไฟฟ้าขยะแห่งใหม่กำลังการผลิตรวม 30 เมกะวัตต์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า

โครงสร้างหนี้

ในการวิเคราะห์ระดับหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อน (Priority Debt) นั้น ทริสเรทติ้งจะไม่ได้รวมหนี้ของกิจการร่วมค้าที่บริษัทให้การค้ำประกันเข้าไว้ด้วย ซึ่ง ณ เดือนมิถุนายน 2565 หนี้เงินกู้รวมของบริษัทมีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 5 พันล้านบาท โดยจำนวน 3.4 พันล้านบาทถือเป็นหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อนซึ่งประกอบด้วยหนี้ทั้งหมดของบริษัทย่อย ทำให้อัตราส่วนหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อนต่อหนี้สินรวมของบริษัทอยู่ที่ระดับ 68% ส่งผลให้เจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกันมีความด้อยสิทธิกว่าเจ้าหนี้ที่มีลำดับในการได้รับชำระคืนก่อนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อพิจารณาจากสิทธิเรียกร้องในสินทรัพย์ของบริษัท

สภาพคล่องสามารถจัดการได้

ณ เดือนมิถุนายน 2565 บริษัทมีหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในช่วง 12 เดือนข้างหน้าทั้งสิ้น 694 ล้านบาท โดยทริสเรทติ้งคาดว่าเงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทจะอยู่ที่ประมาณ 700 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทมีวงเงินกู้ยืมที่ยังไม่ได้เบิกใช้รวมทั้งเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดรวมกันอีกจำนวน 380 ล้านบาทสำหรับใช้เป็นแหล่งเงินสด ทำให้ทริสเรทติ้งเชื่อว่าสภาพคล่องของบริษัทน่าจะยังคงบริหารจัดการได้

บริษัทไม่มีข้อกำหนดทางการเงินสำหรับวงเงินกู้ที่มีกับธนาคาร อย่างไรก็ตาม หุ้นกู้ของบริษัทมีข้อกำหนดในการดำรงอัตราส่วนหนี้สินที่มีดอกเบี้ยต่อทุนไม่เกิน 2.5 เท่า นอกจากนี้ บริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าของบริษัทยังต้องดำรงอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ไว้ที่ระดับไม่น้อยกว่า 1.1 เท่าหรือ 1.2 เท่าและต้องดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1.2 เท่า 1.5 เท่า หรือ 2.5 เท่าอีกด้วย ทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทรวมทั้งบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าจะสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวตลอดช่วง 12 ถึง 18 เดือนข้างหน้าได้

สมมติฐานกรณีพื้นฐาน

? กำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาของโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการแล้วจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 112 เมกะวัตต์ในอีก 3 ปีข้างหน้า

? อัตราความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการแล้วจะอยู่ในช่วง 75%-90% ในช่วงปี 2565-2567

? ปริมาณไฟฟ้ารวมที่ผลิตได้จะอยู่ที่ 670 กิกะวัตต์-ชั่วโมงในปี 2565 และ 780-820 กิกะวัตต์-ชั่วโมงในช่วงปี 2566-2567

? EBITDA Margin จะอยู่ในช่วง 29%-34% ในช่วงปี 2565-2567

? เงินลงทุนรวมจะอยู่ในช่วง 0.3-0.8 พันล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2565-2567

?

แนวโน้มอันดับเครดิต

แนวโน้มอันดับเครดิต ?Stable? หรือ ?คงที่? สะท้อนความคาดหมายของทริสเรทติ้งว่าผลการดำเนินงานโดยรวมของโรงไฟฟ้าของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นซึ่งจะช่วยลดระดับการก่อหนี้และเพิ่มกระแสเงินสดให้กับบริษัท อีกทั้งระดับการก่อหนี้และกระแสเงินสดเมื่อเทียบภาระหนี้จะอยู่ในระดับเดียวกับที่ทริสเรทติ้งคาดการณ์ ทั้งนี้ เนื่องจากทริสเรทติ้งคาดว่าบริษัทจะยังคงมีสถานะเป็นบริษัทย่อยหลักของบริษัทไทยโพลีคอนส์ เช่นเดิม แนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทจึงจะยังคงได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มอันดับเครดิตของบริษัทไทยโพลีคอนส์

ปัจจัยที่อาจทำให้อันดับเครดิตเปลี่ยนแปลง

จากสถานะความเป็นบริษัทย่อยหลักของบริษัทไทยโพลีคอนส์ การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของอันดับเครดิตของบริษัทไทยโพลีคอนส์ จะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตของบริษัทเช่นเดียวกันด้วย ทั้งนี้ อันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทอาจปรับลดลงได้หากผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าด้อยกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดไว้อย่างมีนัยสำคัญหรือโครงสร้างเงินทุนของบริษัทอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญจากการลงทุนด้วยการก่อหนี้จำนวนมาก ในทางตรงกันข้าม อันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทอาจปรับเพิ่มขึ้นได้หากผลการดำเนินงานและโครงสร้างเงินทุนของบริษัทแข็งแกร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและดีกว่าประมาณการของทริสเรทติ้ง

เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตที่เกี่ยวข้อง

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตกลุ่มธุรกิจ, 7 กันยายน 2565

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป, 15 กรกฎาคม 2565

- อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญและการปรับปรุงตัวเลขทางการเงินสำหรับธุรกิจทั่วไป, 11 มกราคม 2565

- เกณฑ์การจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้, 15 มิถุนายน 2564

บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (TPCH)

อันดับเครดิตองค์กร: BBB-

แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด/ www.trisrating.com
ติดต่อ santaya@trisrating.com โทร. 0-2098-3000 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 24 191 ถ. สีลม กรุงเทพฯ 10500
? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2564 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ก่อน การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating-information-th2/rating-criteria.html